**ปิดปรับปรุงเวบไซต์ งดติว ครั้งที่ 34 ผู้ลงทะเบียนรับรองผล ยังเข้าเรียนได้** ลงทะเบียนติว ให้ดูตารางติว+โอนเงิน + แจ้งโอนทาง facebook หรือทางอีเมล์ พร้อมชื่อ ที่อยู่จริงค่ะ
เปิดลงทะเบียนติวครั้งที่ 16 การสอบครั้งที่ 33(1/2559) วิชากฏหมาย1, วิชากฏหมาย2 เริ่มติว วันที่ 6 ก.พ. 59 (เอกสารรออัพเดทก่อนนะคะ) ตารางติวและคู่มือลงทะเบียน ตัวอย่างรายงานการเรียนของผู้ที่สอบผ่าน ก่อนลงทะเบียนเรียน ต้องมั่นใจว่ามีเวลาเข้าเรียนนะคะ เพราะต้องฝึกปฏิบัติและเนื้อหาไม่น้อยเลย โดยเฉพาะวิชากฏหมาย2 จะเยอะกว่า กฏหมาย1 |
มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ (ISQC)
ISQC1 ของสภา ดาวน์โหลดได้แล้วที่นี่
http://www.fap.or.th/files/announce/fapannounce/ISQC1_2.pdf
http://fap.or.th/subfapnews.php?id=473
มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ (ISQC : International Standard on Quality Control)
ที่มาของมาตรฐานการควบคุมคุณภาพนี้ เริ่มตั้งแต่ประมาณปี 2001ที่มีบริษัทยักษ์ใหญ่หลายแห่งถูกจับได้ว่า ผู้บริหารมีการทำทุจริตแล้วบริษัทเหล่านี้ก็ล้มและปิดตัวไปในที่สุด โดยมีผู้สอบบัญชีเข้าไปมีส่วนร่วมด้วย จากนั้นกระแสสังคมจึงมีคำถามว่า ทำไมงบการเงินของบริษัทที่ล้มเหล่านั้นจึงแทบไม่มีข้อบ่งชี้หรือสะท้อนสิ่ง ผิดปกติอะไรให้ผู้มีส่วนได้เสียรู้ก่อน ทั้งในรายงานผู้สอบบัญชีก็แสดงความเห็นแบบไม่มีเงื่อนไข ซึ่งย่อมส่งผลกระทบต่อความน่าเชื่อถือในผลงานตรวจสอบของผู้สอบบัญชี ผู้สอบบัญชีเองก็ต้องเริ่มต้นคิดแล้วว่า จะทำอย่างไรที่จะทำให้ความเชื่อมั่นกลับคืนมา จนกระทั่งปี 2005 ที่ IASB เริ่มมีแนวคิดว่า นอกจากการควบคุมคุณภาพงานสอบบัญชีในแต่ละงานแล้ว ควรมองถึงสำนักงานสอบบัญชีที่ควรจะต้องมีการควบคุมคุณภาพด้วย
สำหรับประเทศไทย หน่วยงานที่กำกับดูแลวิชาชีพบัญชี(สภาวิชาชีพบัญชีฯ) ก็ได้ออกมาตรฐานการควบคุมคุณภาพฉบับแรก (ISQC 1) เพื่อให้บริษัทสำนักงานสอบบัญชีมีมาตรฐานการควบคุมคุณภาพในระดับสำนักงาน ที่ให้การปฏิบัติงานสอบบัญชีมีการกลั่นกรองโดยระบบและบุคคลอื่น ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับการปฏิบัติงานของบุคคลคนเดียวอีกต่อไป ที่ย่อมทำให้คุณภาพงานสอบบัญชีดีขึ้น… มาตรฐานนี้เริ่มใช้ในต่างประเทศตั้งแต่ปี 2548 และมีการปรับปรุงเนื้อหาในปี 2552 ส่วนในประเทศไทยเริ่มเผยแพร่ร่างมาตรฐานนี้ในปี 2553 และประกาศเป็นมาตรฐานเมื่อต้นปี 2554 เพื่อให้สำนักงานสอบบัญชีถือปฏิบัติในปี 2557 แต่อย่างไรก็ตามสภาวิชาชีพบัญชีฯ สนับสนุนให้มีการนำมาตรฐานนี้ไปใช้ก่อน สำหรับสำนักงานที่ยังไม่พร้อม ก็ควรต้องเร่งทำความเข้าใจเพื่อปรับระบบงานหรือเตรียมการไว้ตั้งแต่เนิ่นๆใน ระยะเวลาอีกไม่นานก่อนการใช้บังคับ และอย่านิ่งนอนใจเป็นอันขาด
มาตรฐานฉบับนี้ประกอบไปด้วยอะไร
สรุปประเด็นสำคัญที่มาตรฐานนี้กำหนด อาจแบ่งเป็น 6 เรื่อง ดังนี้
1. ความรับผิดชอบของผู้นำต่อคุณภาพภายในสำนักงาน คือ หัวหน้าสำนักงานสอบบัญชีว่า มีหน้าที่ความรับผิดชอบอะไร เพื่อให้สำนักงานมีคุณภาพตามที่กำหนด
2. ข้อกำหนดด้านจรรยาบรรณที่เกี่ยวข้อง คือ การกำหนดให้สำนักงานและบุคลากรของสำนักงานปฏิบัติตามข้อกำหนดจรรยาบรรณของ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี
3. การตอบรับงานสอบบัญชี สำนักงานต้องมีกระบวนการและวิธีปฏิบัติในการตอบรับงานสอบบัญชี รวมถึงการคงไว้ซึ่งความสัมพันธ์กับลูกค้าและงานที่มีลักษณะเฉพาะ
4. ทรัพยากรบุคคล สำนักงานต้องการออกแบบวิธีปฏิบัติเพื่อให้สำนักงานมีบุคคลากรที่มีคุณภาพ มีทักษะความรู้ ความสามารถ และยึดมั่นในหลักจรรยาบรรณที่เพียงพอ
5. การปฏิบัติงาน กำหนดวิธีปฏิบัติงานให้เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพ และข้อกำหนดทางกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
6. การติดตามผล คือ การติดตามผลเกี่ยวกับนโยบาย วิธีปฏิบัติในการควบคุมคุณภาพที่สำนักงานได้กำหนดไว้ หรือพูดง่ายๆ คือ การดูแลตัวเอง ทำอย่างไรให้สำนักงานสอบบัญชีมีระบบขึ้นมาจริง ๆ และมีอย่างต่อเนื่อง
การประกาศบังคับใช้มาตรฐาน
สภาวิชาชีพบัญชีฯ ได้ประกาศบังคับใช้ มาตรฐานการควบคุมคุณภาพ ฉบับที่ 1 การควบคุมคุณภาพสำหรับสำนักงานที่ให้บริการด้านการตรวจสอบและการสอบทานงบการ เงิน และงานให้ความเชื่อมั่นอื่นตลอดจนบริการเกี่ยวเนื่อง (ตามประกาศสภาวิชาชีพบัญชีฯ ที่ 9/2554) ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2557 เป็นต้นไป
แก้ไขล่าสุด (วันพุธที่ 23 พฤศจิกายน 2011 เวลา 14:22 น.)